วันเสาร์ที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2563

4.3 สารกัมมันตรังสี

ธาตุกัมมันตรังสี (radioactive element) คือ ธาตุพลังงานสูงกลุ่มหนึ่งที่สามารถแผ่รังสี แล้วกลายเป็นอะตอมของธาตุใหม่ได้ 

ส่วนรังสีที่แผ่ออกมาจากธาตุนั้น แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ

1. รังสีแอลฟา (สัญลักษณ์: α) คุณสมบัติ เป็นนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียม (4 2He) มี p+ และ n อย่างละ 2 อนุภาค ประจุ +2 เลขมวล 4 อำนาจทะลุทะลวงต่ำ เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วลบ

2. รังสีบีตา (สัญลักษณ์: β) คุณสมบัติ เหมือน e- อำนาจทะลุทะลวงสูงกว่า α 100 เท่า ความเร็วใกล้เสียง เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้าเข้าหาขั้วบวก

3. รังสีแกมมา (สัญลักษณ์: γ) คุณสมบัติเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (Electromagnetic Wave) ที่มีความยาวคลื่นสั้นมากไม่มีประจุและไม่มีมวล อำนาจทะลุทะลวงสูงมาก ไม่เบี่ยงเบนในสนามไฟฟ้า เกิดจากการที่ธาตุแผ่รังสีแอลฟาและแกมมาแล้วยังไม่เสถียร มีพลังงานสูง จึงแผ่เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อลดระดับพลังงาน




4.2 แบตเตอรี่

แบตเตอรี่ ( battery) เป็นอุปกรณ์ที่ประกอบด้วย เซลล์ไฟฟ้าเคมี หนึ่งเซลล์หรือมากกว่า ที่มีการเชื่อมต่อภายนอกเพื่อให้กำลังงานกับอุปกรณ์ไฟฟ้า แบตเตอรี่มีขั้วบวกและขั้วลบ ขั้วที่มีเครื่องหมายบวกจะมีพลังงานศักย์ไฟฟ้าสูงกว่าขั้วที่มีเครื่องหมายลบ ขั้วที่มีเครื่องหมายลบคือแหล่งที่มาของอิเล็กตรอนที่เมื่อเชื่อมต่อกับวงจรภายนอกแล้วอิเล็กตรอนเหล่านี้จะไหลและส่งมอบพลังงานให้กับอุปกรณ์ภายนอก เมื่อแบตเตอรี่เชื่อมต่อกับวงจรภายนอก สาร อิเล็กโทรไลต์ มีความสามารถที่จะเคลื่อนที่โดยทำตัวเป็นไอออน ยอมให้ปฏิกิริยาทางเคมีทำงานแล้วเสร็จในขั้วไฟฟ้าที่อยู่ห่างกัน เป็นการส่งมอบพลังงานให้กับวงจรภายนอก การเคลื่อนไหวของไอออนเหล่านั้นที่อยู่ในแบตเตอรี่ที่ทำให้เกิดกระแสไหลออกจากแบตเตอรี่เพื่อปฏิบัติงาน ในอดีตคำว่า "แบตเตอรี่" หมายถึงเฉพาะอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายเซลล์ แต่การใช้งานได้มีการพัฒนาให้รวมถึงอุปกรณ์ที่ประกอบด้วยเซลล์เพียงเซลล์เดียว




4.1 เชื้อเพลิง

เชื้อเพลิง คือ วัสดุใดๆ ที่นำไปเผาไหม้หรือแปรเปลี่ยนเพื่อนำมาซึ่งพลังงาน เชื้อเพลิงจะปลดปล่อยพลังงานผ่านปฏิกิริยาทางเคมี เช่น การเผาไหม้ หรือปฏิกิริยานิวเคลียร์ เช่น การแตกตัว หรือ การรวมตัวของนิวเคลียส อย่างใดอย่างหนึ่ง คุณสมบัติสำคัญของเชื้อเพลิงที่มีประโยชน์ คือ พลังงานที่มีอยู่สามารถถูกบรรจุและปลดปล่อยได้ตามต้องการ และการปลดปล่อยนั้นถูกควบคุมในทางใดทางหนึ่งเพื่อให้สามารถใช้สร้างงานทางวิศวกรรมได้ 



บทที่ 4 พลังงาน

 4.1 เชื้อเพลิง  อ่านต่อ

4.2 แบตเตอรี่  อ่านต่อ

4.3 สารกัมมันตรังสี  อ่านต่อ






3.5 บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร

   บรรจุภัณฑ์เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรมอาหารมากขึ้นเรื่อยๆ และมีอัตราการเติบโตควบคู่ไปกับการเติบโตของอุตสาหกรรมอาหาร บรรจุภัณฑ์อาหารมีบทบาทสำคัญในการยืดอายุการเก็บรักษาและรักษาคุณภาพอาหาร ทั้งในด้านกลิ่นสี รสชาติ และความอร่อยให้คงอยู่จนกระทั่งถึงมือผู้บริโภค ทั้งยังช่วยให้การขนส่งผลิตภัณฑ์มีความสะดวกมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยในการส่งเสริมการตลาด บรรจุภัณฑ์ที่ออกแบบสวยงามสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และใช้เป็นสื่อโฆษณาได้ด้วยตัวเอง

ประเภทของบรรจุภัณฑ์อาหาร

บรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารมีอยู่หลายชนิด ได้แก่

1. บรรจุภัณฑ์กระดาษ เช่น aseptic carton เป็นบรรจุภัณฑ์ที่มีต้นทุนตํ่า สามารถทำการพิมพ์สอดสีได้ง่ายและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

2. บรรจุภัณฑ์แก้ว เป็นบรรจุภัณฑ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวางและสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้มากที่สุด

3. บรรจุภัณฑ์โลหะ เช่น กระป๋อง มีความแข็งแรงทนทางต่อการขนส่ง สามารถเก็บรักษาคุณภาพอาหารได้นาน และใช้มากในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน

4. บรรจุภัณฑ์พลาสติก ที่นิยมใช้มีอยู่ 2 ประเภทคือ ประเภทคงรูป เช่น ขวด ถ้วย ลัง และประเภทอ่อนตัว (flexible packaging) เช่น ฟิลม์พลาสติก ถุง และซองพลาสติก เป็นต้น




3.4 วิตามินและเกลือแร่

  วิตามินและเกลือแร่ถือเป็นสารที่มีความจำเป็นอย่างยิ่ง ต่อสุขภาพของมนุษย์  หากปราศจากวิตามินและเกลือแร่ร่างกายไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ และอาจจะป่วยเป็นโรคหลายชนิด อันเกี่ยวเนื่องจากการขาดวิตามินและเกลือแร่ วิตามินจะต้องมีอยู่ในอาหารประจำวันของเราเพื่อให้ร่างกายของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต่อสู้กับความเจ็บป่วยได้






3.3 โปรตีน

     โปรตีน คือ สารอาหารที่ประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นสำหรับร่างกาย มีหน้าที่สร้างความแข็งแรงและช่วยในการทำงานของกระดูก กล้ามเนื้อ และผิวหนัง แม้ร่างกายของคนเราจะสามารถสร้างกรดอะมิโนได้เอง 9 ชนิด แต่ก็ยังจำเป็นต้องได้รับกรดอะมิโนอีก 11 ชนิดเพิ่มเติมจากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ถั่วชนิดต่าง ๆ รวมถึงข้าวและธัญพืช ซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนจำเป็นอย่างครบถ้วนและเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย องค์ประกอบสำคัญในทุก ๆ เซลล์ของร่างกาย ทั้งกระดูก กระดูกอ่อน กล้ามเนื้อ ผิวหนัง เลือด หรือแม้แต่เส้นผมและเล็บประกอบขึ้นด้วยโปรตีนเป็นหลัก ส่วนในด้านการทำงานของร่างกายนั้นโปรตีนมีหน้าที่สร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ ทั้งยังช่วยสังเคราะห์เอนไซม์ ฮอร์โมน และสารเคมีต่าง ๆ คงความสมดุลของของเหลวในร่างกาย รวมถึงหน้าที่ที่สำคัญอย่างการสร้างสารภูมิต้านทานเพื่อต่อต้านการติดเชื้อ การแข็งตัวของเลือด และการก่อตัวของแผลเป็น





3.2 คาร์โบไฮเดรต

     คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate) คือสารอาหารหลักชนิดหนึ่งซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำคัญของร่างกาย อาหารส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยคาร์โบไฮเดรตและสารอาหารหลักชนิดอื่น ๆ อย่างไขมันและโปรตีนในปริมาณที่แตกต่างกัน โดยคาร์โบไฮเดรตที่พบในอาหารแบ่งเป็น 3 ประเภท ได้แก่ น้ำตาล แป้ง และเส้นใยอาหาร โดยทั่วไปแล้ว ร่างกายจะย่อยคาร์โบไฮเดรตให้กลายเป็นกลูโคสเพื่อดูดซึมสู่กระแสเลือด และนำไปใช้เป็นพลังงานสำหรับเซลล์ เนื้อเยื่อ รวมทั้งอวัยวะต่าง ๆ ส่วนน้ำตาลที่เหลือจากการใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ จะถูกสะสมไว้ที่ตับและกล้ามเนื้อ เพื่อนำออกมาใช้ในยามจำเป็น






3.1 ไขมันและน้ำมัน

       ไขมันและน้ำมัน (Fat and Oil) ไขมันและน้ำมันเป็นสารกลุ่มเดียวกันที่เรียกว่าลิพิด (Lipid) โดยทั้งไขมันและน้ำมันเป็นสารที่มีสมบัติใกล้เคียงกัน  คือ  เป็นสารที่มีองค์ประกอบหลักเป็นธาตุคาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน ไม่ละลายน้ำ  เมื่ออยู่ในน้ำจะแยกออกจากน้ำเป็นชั้น  แต่สามารถละลายได้ดีในสารที่เป็นน้ำมัน หรือในตัวทำละลายอินทรีย์บางชนิด  เช่น แอลกอฮอล์  เป็นต้น ความแตกต่างอย่างหนึ่งระหว่างไขมันและน้ำมัน  คือ  ไขมันจะมีสถานะเป็นของแข็งที่อุณหภูมิห้อง  ส่วนน้ำมันจะมีสถานะเป็นของเหลว 





บทที่ 3 อาหาร

3.1 ไขมันและน้ำมัน  อ่านต่อ

3.2 คาร์โบไฮเดรต  อ่านต่อ

3.3 โปรตีน  อ่านต่อ

3.4 วิตามินและเกลือแร่  อ่านต่อ

3.5 บรรจุภัณฑ์สำหรับอาหาร  อ่านต่อ




2.3 การละลายของสารในน้ำ

การละลาย (solubility) คือสมบัติหนึ่งของของแข็ง, ของเหลว หรือแก๊ส ในทางเคมีเรียกว่าสารละลายซึ่งสามารถละลายได้ในทั้งของแข็ง ของเหลว และแก๊ส เพื่อที่จะทำให้ได้สารสถานะเดียวกับตัวทำละลาย การละลายของสสารโดยขั้นต้นแล้วจะขึ้นอยู่กับชนิดของตัวทำละลายเฉกเช่นเดียวกับอุณหภูมิและความดัน เมื่อการละลายถึงจุดอิ่มตัวแล้ว การเติมตัวละลายลงในตัวทำละลายที่เฉพาะเจาะจงลงไปอีกจะไม่มีผลใดๆ ต่อการละลาย กล่าวคือจะไม่ทำให้สารละลายเข้มข้นขึ้นหรือเจือจางลง โดยส่วนมากแล้วตัวทำละลายจะมีสถานะเป็นของเหลวทั้งในแบบสารบริสุทธิ์และสารประกอบบางครั้งเกิดสารละลายในรูปของสารละลายของแข็ง แต่เกิดน้อยครั้งมากในกรณีที่เกิดในรูปของสารละลายแก๊ส



2.2 สารในแหล่งน้ำธรรมชาติ

1.จุลินทรีย์ (Micro Organism) เป็นสิ่งมีชีวิตที่พบได้ทั่วไป ทั้งในแหล่งน้ำธรรมชาติ

2. สารอินทรีย์ (Organic substance) รวมความถึงสารอินทรีย์สังเคราะห์ 

3. สารอนินสรีย์ (Inorganic substances) รวมทั้งแร่ธาตุต่าง ๆ 

4. สารประกอบไนโตรเจนและฟอสฟอรัส (Nitrogen and phosphorus compounds)สารประกอบพวกนี้เป็นอาหารหลักของพืช ซึ่งพบมีอยู่ปริมาณเล็กน้อยในน้ำธรรมชาติ สารเหล่านี้อาจปะปนอยู่ในน้ำทิ้ง น้ำเสียที่ออกมาจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือการชะล้างจากกิจกรรมทางเกษตร สารประกอบของไนโตรเจนและฟอสฟอรัส เป็นปุ๋ยของพืชน้ำทุกชนิด

5. ความร้อน (Thermal) ส่วนใหญ่เกิดจาการกระบายน้ำหล่อเย็นจากโรงงานอุตสาหกรรม

6. น้ำมันและสิ่งสกปรก (Oil and floating material)เช่น ขยะมูลฝอยทำให้แหล่งน้ำไม่เหมาะที่จะนำมาใช้

7. สารกัมมันตรังสี ได้แก่ สารมลพิษที่มีการสลายตัวให้รังสีแอลฟา เบตา แกมมาหรือรังสี X ส่วนมาก สารมลพิษเหล่านี้ได้มาจากแร่เชื้อเพลิงปรมาณู และกระบวนการผลิตหรือจากโรงงานปรมาณูที่มีการใช้สารกัมมันตรังสี แล้วปล่อยสารมลพิษเหล่านี้ไปในแหล่งน้ำ




2.1 โมเลกุลของน้ำ

             น้ำเป็นสารที่มีสมบัติทางกายภาพแตกต่างจากสารอื่น เนื่องจากมี 3 สถานะ คือ เป็นของแข็งหรือน้ำแข็ง (ice water)  ของเหลว (liquid water) และก๊าซหรือไอน้ำ (water vapour) ในธรรมชาติน้ำอยู่ในสถานะของเหลวมากที่สุด   น้ำมีสูตรทางเคมีเป็น H2O ประกอบด้วย ไฮโดรเจน 2 อะตอมจับกับออกซิเจน 1 อะตอมด้วยพันธะโควาเลนต์


บทที่ 2 น้ำ

2.1 โมเลกุลของน้ำ อ่านต่อ

2.2 สารในแหล่งน้ำธรรมชาติ  อ่านต่อ

2.3 การละลายของสารในน้ำ  อ่านต่อ




1.5 มลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศ หมายถึง ภาวะอากาศที่มีสารเจือปนอยู่ในปริมาณที่สูงกว่าระดับปกติเป็นเวลานานพอที่จะทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์ สัตว์ พืช หรือทรัพย์สินต่าง อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติหรือมนุษย์สร้างขึ้น  เช่น ฝุ่นละอองจากลมพายุ ภูเขาไฟระเบิด ไฟไหม้ป่า ก๊าซธรรมชาติ ควันจากโรงงานอุสาหกรรม ควันจากรถยนต์ เป็นต้น



1.4 การใช้ประโยชน์จากอากาศ

 ประโยชน์ของอากาศ

อากาศมีประโยชน์ต่อโลกและมีความสำคัญต่อสิ่งมีชีวิตทั้งมนุษย์ สัตว์ และพืชที่อาศัยอยู่บนโลก ดังนี้

1.ช่วยปรับอุณหภูมิของโลก

2.ป้องกันอันตรายจากรังสีอนุภาคต่าง ๆ

3.ใช้ในการหายใจของมนุษย์

4.ใช้ในการหายใจของสัตว์

5.ใช้ในการหายใจของพืช

6.ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง

7.ใช้ในการคมนาคมและการสื่อสาร

8.อากาศและส่วนประกอบต่างๆ ของอากาศทำให้เกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ

9.อากาศช่วยทำให้เกิดการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง

10.ทำให้รู้ความแตกต่างของอุณหภูมิ  




1.3 ธาตุ

 ธาตุ (Element) คือ โครงสร้างพื้นฐานของสสารที่ไม่สามารถแยกย่อยได้อีกด้วยกระบวนการทางเคมี ซึ่งเราอาจจะกล่าวอีกอย่างว่า ธาตุ คือ เซ็ตโครงสร้างของอะตอม  ธาตุแต่ละชนิดประกอบขึ้นด้วยอนุภาคจำนวนไม่เท่ากัน โดยที่จำนวนของโปรตอนเป็นตัวระบุลำดับของธาตุ (Atomic number) 

 ยกตัวอย่างเช่น 

ธาตุลำดับที่ 1 คือ ไฮโดรเจน อะตอมของธาตุไฮโดรเจน ประกอบด้วย โปรตอน 1 ตัว และอิเล็กตรอน 1 ตัว และไม่มีนิวตรอน  

ธาตุลำดับที่ 2 คือ ฮีเลียม อะตอมของธาตุฮีเลียม ประกอบด้วย โปรตอน 2 ตัว นิวตรอน 2 ตัว และอิเล็กตรอน 2 ตัว   

ธาตุลำดับที่ 8 คือ ออกซิเจน อะตอมของธาตุออกซิเจน ประกอบด้วย โปรตอน 8 ตัว  นิวตรอน 8 ตัว และอิเล็กตรอน 8 ตัว 




1.2 อะตอม

 อะตอม (Atom) หมายถึง อนุภาคที่เล็กมากๆ ของสสารที่สามารถจะคงอยู่ได้ ไม่สามารถแบ่งออกได้ทางเคมี ประกอบด้วยนิวเคลียส (Nucleus) ที่มีโปรตอน (Proton) ซึ่งมีประจุเป็นบวก (+) และนิวตรอน (Neutron) โกลด์สไตน์ (Eugen Goldstein) ซึ่งมีประจุเป็นกลาง รวมกันอยู่ตรงกลาง และอิเล็กตรอน (Electron) มีประจุลบ (-) ผู้ค้นพบคือ ทอมสัน (Joseph John Thomson)วิ่งอยู่รอบๆ ซึ่งอนุภาคทั้ง 3 ชนิดนี้ เรียกว่า อนุภาคมูลฐานของอะตอม











1.1 องค์ประกอบในอากาศ

 ส่วนประกอบของอากาศ

1. ก๊าซไนโตรเจน

    เป็นก๊าซที่มีปริมาณมากที่สุดในอากาศ ไนโตรเจนมีสมบัติเป็นก๊าซเฉื่อย มีประโยชน์ที่สำคัญ คือ ช่วยเจือจางความเข้มข้นของออกซิเจนในอากาศทำให้ออกซิเจนมีความเข้มข้นพอเหมาะสำหรับสิ่งมีชีวิตที่จะนำไปใช้ได้ โดยไม่ก่อให้เกิดอันตราย

2. ก๊าซออกซิเจน

    เป็นก๊าซที่สำคัญที่สุดของสิ่งมีชีวิต เพราะสิ่งมีชีวิตใช้ก๊าซออกซิเจนในการหายใจ อีกทั้งก๊าซออกซิเจนในอากาศจะช่วยในการเผาไหม้กับเชื้อเพลิง ซึ่งจะให้พลังงานความร้อนและแสงสว่างออกมา ซึ่งพลังงานที่ได้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ นอกจากนี้ก๊าซออกซิเจนในอากาศบางส่วนยังถูกเปลี่ยนไปเป็นก๊าซโอโซน (O3) ที่ทำหน้าที่สำคัญในการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิตย์

3. ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

     ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นวัตถุดิบในการสังเคราะห์แสง ซึ่งเป็นกระบวนการสร้างอาหารของพืช ซึ่งผลจากการสร้างอาหารของพืชจะทำให้ได้พลังงาน, ก๊าซออกซิเจน, และน้ำ ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อพืชและสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ด้วย

4. ไอน้ำ

     ในอากาศจะมีไอน้ำอยู่เสมอ โดยปริมาณจะมากหรือน้อยตามแต่สถานที่ ทั้งนี้ไอน้ำในอากาศได้มาจากการระเหยของน้ำที่ผิวโลก โดยเฉพาะจากบริเวณที่แหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น มหาสมุทร, ทะเลสาบ, แม่น้ำลำคลอง ฯลฯ ไอน้ำในอากาศอาจอยู่ในรูปของก๊าซ หรือรวมตัวกันเป็นละอองหยดน้ำเล็กๆ เมื่อละอองหยดน้ำเล็กๆ เหล่านี้รวมตัวกัน ก็จะมีขนาดใหญ่ขึ้นและกลายเป็นฝนตกลงมาในที่สุด



วันศุกร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2563

บทที่ 1 อากาศ

1.1 องค์ประกอบในอากาศ  อ่านต่อ

1.2 อะตอม  อ่านต่อ

1.3 ธาตุ  อ่านต่อ

1.4 การใช้ประโยชน์จากอากาศ  อ่านต่อ

1.5 มลพิษทางอากาศ  อ่านต่อ